วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การผูกเงื่อนและผูกแน่น

  การพันหัวเชือกวิธีต่างๆ
         เหตุที่ต้องพันหัวเชือก เนื่องจากเราตัดเชือกออกจากขดหรือลูก เมื่อทิ้งไว้เฉยๆ เกลียวเชือกจะลุ่ย หลุดออก เวลาใช้งานต้องตัดส่วนนี้ทิ้ง ทำให้เชือกสั้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องมีการพันหัวเชือกให้เรียบร้อย ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
        1. การพันหัวเชือกแบบธรรมดา (Common Whippimg)
        2. การพันเชือกหัวเชือกแบบตะวันตก (West Country Whipping)
        3. การพันหัวเชือกแบบสมบูรณ์ (Perfected Whipping)
        4. กาพันหัวเชือกแบบกะลาสี (Sailmaker’ whipping)
        เพื่อป้องกันมิให้ปลายเชือกคลายตัวดังกล่าวควรพันหัวเชือกให้เหมาะสมกับขนาดของเชือก คือ
        1) เชือกผูกแน่น ให้ใช้เทียนลนปลายเชือกทั้งสองข่างใช้นิ้วมือจุ่มน้ำบีบหัวปลายแหลมๆ ขณะที่ยังร้อนอยู่ อย่าให้ปลายเชือกบานเหมือนดอกเห็ด จะทำให้ปลายเชือกแตกในขณะที่แก้ออกเมื่อเลิกใช้งานแล้วมัดรวมกัน มัดละ 20 เส้น แขวนไว้ให้เชือกเหยียดตรง เพื่อสะดวกใน การใช้และนับจำนวน
        2) เชือกขนาด 5,6,8 มิลลิเมตร ให้พันหัวเชือกแบบธรรมดา (Common Whippimg) หรือแบบสมบูรณ์ (Perfected Whipping)
        3) เชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10 มิลลิเมตร ขึ้นไป ให้พันหัวเชือกแบบกะลาสี (Sailmaker’ whipping) เพื่อสะดวกในการใช้ ถ้างานเร่งด่วนก็ให้ใช้การพันหัวเชือกแบบตะวันตก(West Country Whipping) แต่จะเอาเชือกร้อยรอกอย่าเล็กน้อย ปลายเชือกทีพันแล้วควรจุ่มสีน้ำมันหรือสีพลาสติกจะทำให้ปลายเชือกคงทน และไม่ปะปนกับเชือกของผู้อื่น
หมายเหตุ ด้ายที่ใช้พันหัวเชือก ถ้าเป็นเชือกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5,6,8 มิลลิเมตร ให้ใช้ด้าย 80 % เบอร์ 18 พันหัวเชือก แต่ถ้าเป็นเชือกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10 มิลลิเมตร ขึ้นไป ให้ใช้ด้าย 80 % เบอร์ 36 หรือ 45 พันแบบกะสาลี จะเหมาะสมกว่า


  การเก็บรักษาเชือก
      
1. ระวังรักษาเชือกให้แห้งเสมอ อย่าให้เปือกชื้น เพราะจะทำให้เชือกเกิดราและผุต้อง
        2. หมั่นทำความสะอาด นำออกผึ่งแดดให้แห้ง
        3. การเก็บเชือกควรเก็บขดเป็นวง มัดให้เรียบร้อย แล้วนำแขวนไว้ ไม่ควรวางไว้กับพื้นเชือกที่ใช้งานเสร็จแล้ว จะต้องระวังรักษาดังนี้
            3.1 เชือกที่เลอะโคลนเลน หรือถูกน้ำเค็ม เมื่อเสร็จงานแล้วควรชำระล้างด้วยน้ำจืด ให้สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง เก็บมัดแขวนไว้กับขอ หรือบนที่แขวน
            3.2 ขณะใช้งานระวังอย่าให้เชือกลากครูด และเสียดสีกับของแข็ง จะทำให้เกลียว สึกกร่อนและขาดง่าย
            3.3 ก่อนเอาเชือกผูกมัดกับต้นไม้ กิ่งไม้ หรือของแข็ง ควรเอากระสอบพันรอบต้นไม้หรือกิ่งไม้
            3.4 ปลายเชือกจะต้องเอาเชือกเล็กๆ พันหัวเชือกหรือถักแทงให้เรียบร้อยป้องกัน คลายเกลียว
            3.5 อย่าใช้เชือกผูกรั้งเหนี่ยวยืดหรือราก ฉุดของหนักเกิดกำกำลัง (เชือกแต่ละเส้น มีแรงยกมากกว่าแรงฉุดหรือแรงลากเสมอ)
        ประโยชน์ของงานเชือก
      
1. ใช้ในงานบุกเบิกผจญภัย
        2. ใช้ช่วยชีวิตคน
        3. ใช้ผูกมัดสิ่งของต่างๆ
        4. ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผูกสายรองเท้า ถักเปีย ปืนต้นไม้ ห่อของขวัญ
        5. เชือกสั้นสามารถต่อให้ยาวได้
        6. เชือกยาวๆ ใช้ในงานที่ใช้เชือกสั้น ให้ทบเชือก โดยการผูกร่น หรือทบเชือกเอาส่วนที่เสียมาอยู่ตรงกลาง แล้วผูกร่นเชือกก็ใช้งานได้
        7. เป็นการรักษาภูมิปัญญา และใช้ประกอบเป็นอาชีพได้
        8. สามารถถักเป็นปลอก ถักเป็นเปีย ถักภาชนะ กระเป๋า ต่างๆ ได้



     คลิกการผูกเงื่อนต่างๆ

                                                                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น