วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การผูกเงือนต่างๆ


๑. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( CLEVE HITCH )



ประโยชน์
๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพ(เพื่อป้องกันไม่ให้
ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ )
๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง  ผูกกระหวัดไม้
๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท

๒. เงื่อนพิรอด ( Reef Knot หรือ Square Knot )



ประโยชน์
๑.  ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
๒.  ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
๓.  ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
๔.  ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
๕.  ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น
๖.  ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน
( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ )

๓. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )



ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน (เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด) หรือต่อเชือกที่มีขนาด
เดียวกันก็ได้
๒.ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
๓.ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็งเช่นเถาวัลย์
๔.ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า
๕. ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง (ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ) เช่น
ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น – ลง

๔. เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก (Sheepshank)



ประโยชน์
๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย  เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง
๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ

๕. เงื่อนกระหวัดไม้  (Two Haft Hitch)



ประโยชน์
๑. ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้
๒. แก้ง่าย แต่มีประโยชน์
๓. ผูกเชือกสำหรับโหน

๖. เงื่อนบ่วงสายธนู ( BOWLINE ) ใช้ทำเป็นบ่วงที่มี

ขนาดที่ไม่เลื่อนไม่รูด

ประโยชน์ 

๑. ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือแพ

ขึ้น – ลงตามน้ำได้

๒. ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดิน
หมุนได้รอบ ๆเสาหลักเชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์
๓. ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง
๔. ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู
๕. ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ
๖.ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน

๗.เงื่อกผูกรั้ง ( TARBUCK KNOT )



ประโยชน์ 
๑. ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้ 
๒. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้

๘.เงื่อนประมง (FISHIRMAN’S KNOT)



ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
๒. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
๓. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว
๔. ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
๕. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
๖. ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง
๗. เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย

๙. เงื่อนผูกซุง ( A Timber Hitch )



ประโยชน์
๑. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
๒. ใช้ผูกทแยง
๓. ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
๔. เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย

๑๐.เงื่อนเก้าอี้(Chair Knot or ireman’s Chair Knot)




ประโยชน์
เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือ
ใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่น
โดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไป ระหว่างจุด ๒ จุด

เงื่อนผูกแน่น(LASHING ) มี๓ ชนิด ได้แก่

๑. ผูกประกบ ( Sheer Lasning )
๒. ผูกกากบาท ( Square Lashing )
๓. ผูกทแยง ( Diagonal Lashing )
ผูกประกบ มีหลายวิธี เช่น ผูกประกบ ๒ ประกบ ๓

ผูกประกบ ๒ ใช้ต่อเสาหรือไม้ ๒ ท่อนเข้าด้วยกัน





วิธีผูก เอาไม้ที่จะต่อกันวางขนานกัน ให้ส่วนที่จะผูกวางซ้อนกันประมาณ ๑/๔
ของความยาว( ต่อแล้วเสาจะตรง ) เอาเชือกที่จะผูกผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่เสา
ต้นหนึ่งเอาปลายเชือกพันบิดเข้ากับตัวเชือก (แต่งงานกัน) เอาลิ่มหนาเท่าเส้นเชือก
คั่นระหว่างเสาทั้งสองรูป จัดให้เงื่อนอยู่ใกล้ ๆปลายเสาด้านที่ซ้อนกันแล้วจับตัวเชือก
พันรอบเสาทั้งสองจากปลายเสาเข้าใน เรียงเส้นเชือกให้เรียบพันให้เท่าความกว้าง
ของเสาทั้ง ๒ ต้น ดังรูป ๒ เสร็จแล้วพันสอดเชือกเข้าระหว่างไม้เสาทั้งสองพัน
หักคอไก่ พันรอบเชือกที่พันเสาทั้ง ๒ ต้น ดึงรัดให้แน่น รูป ๓  แล้วผูกด้วยตะกรุด
เบ็ดบนเสาอีกต้นหนึ่ง( คนละต้นกับอันขึ้นต้น ) เหน็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย

ผูกประกบ ๓ เอาไม้ ๓ ท่อนมาเรียงขนานกัน

วิธีผูก  เริ่มผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันกลางเอาปลายเชือกแต่งงานกันกับตัวเชือก
แล้วเอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๓ ต้น เรียงเส้นเชือกให้เรียบร้อย พันให้มีความกว้าง
เท่าเสาทั้ง ๓ ต้น ( ก่อนพันอย่าลืมเอาลิ่มขนาดเส้นเชือกคั่นระหว่างเสา )
พันเสร็จแล้วหักคอไก่ระหว่างซอกเสาทั้ง ๓ ต้นให้แน่นแล้วผูกลงท้ายด้วยเงื่อน
ตะกรูดเบ็ดทีเสาต้นริมต้นใดต้นหนึ่งเก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย

ผูกกากบาท (SQUARE LASHING )
วิธีที่ ๑ กากบาทแบบ GILWELL และแบบ THURMAN



วิธีผูก   เอาไม้หรือเสามาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาท (กางเขน ) เอาเชือกผูก
ตะกรูดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง เอาปลายเชือก แต่งงานกับตัวเชือก รูป๑
เอาเชือกอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา(ซ้ายก่อนก็ได้)ของไม้ตั้งดึงขึ้นเหนือ
ไม้อันขวางพันอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งไปทางซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อม
มาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง   ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทาง
ด้านขวาของไม้อันตั้งดึงเชือก  ขึ้นพาดบนไม้อันขวางทางขวาไม้อันตั้งแล้วพัน
ตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก ทุกรอบต้องดึงให้เชือกตึง  เรียงเส้นเชือกให้เรียบด้วย
แล้วพันวนเรื่อย ๆ ไปประมาณ๓ – ๔ รอบ (หรือเส้นเชือกด้านกลังชิดกัน)จึงพัน
หักคอไก่  ๒ – ๓ รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่  ไม้อันขวาง
( คนละอันกับขึ้นต้นผูก )

ผูกทแยง (Diang  Lashing )



วิธีผูก   เอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๒ ต้น ตรงระหว่างมุมตรงข้ามด้วยเงื่อนผูกซุง
แล้วดึงตัวเชือกไม้เสาทั้ง ๒ ต้น ตามมุมตรงข้ามคู่แรก ( มุมทแยง ) 
ประมาณ ๓ รอบ ( ทุกรอบดึงให้เชือกตึง )แล้วดึงเชือกพันเปลี่ยนมุมตรงข้าม
คู่ที่ ๒ อีก ๓รอบ แล้วดึงเชือกพันหักคอไก่(พันรอบเชือกระหว่างไม้เสาทั้งสอง)
สัก ๒ – ๓ รอบ พันเสร็จเอาปลายเชือกผูกตะกรูดเบ็ดทีไม้เสาต้นใดต้นหนึ่ง
เก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
ประโยชน์
๑. ใช้ในงานก่อสร้าง
๒. ให้ผูกเสาหรือไม้ค้ำยัน ป้องกันล้ม
๓. ทำตอม่อสะพาน

ผูกตอม่อสะพาน ( TRESTLE )



อุปกรณ์ทำตอม่อสะพาน ด้วยไม้พลองหรือเสาเข็ม
๑. เสายาวพอสมควร จำนวน ๖ต้น ( ใช้พลองฝึก )
๒. เชือกมนิลาสำหรับผูก ๙เส้นขนาดโตพอสมควร (ฝึกด้วยพลองเชือกยาว
๓ เมตร)
วิธีสร้าง   ฝึกด้วยไม้พลอง
๑. วางไม้พลอง ๒ อันขนานกันห่างกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของความยาว
เป็นเสาตั้ง  ( leg )
๒. เอาไม้พลองอีก ๒ อันวางทับลงบนไม้พลองคู่แรก( leg )ให้ปลายยื่น
ออกไปด้านละ ๑/๖หรือ ๑/๘
๓. เอาเชือกวัดความยาวของพลอง ทบเชือกแบ่งเป็น ๘ และ ๑๖ ส่วน เลื่อน
หัวเสาทั้ง ๒ อันเข้าหากันอีกข้างละ  ๑/๑๖   เพื่อทำให้หัวเสาสอดเข้าหากัน
๔. เงื่อนที่ใช้ผูกใช้เงื่อนผูกกากบาทและผูกทแยง ( ตรงกลาง )
ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเสาหรือไม้ให้ยาว
๒. ทำตอม่อสะพาน เสาธงลอย
๓. ทำนั่งร้าน ทำหอคอย

การเก็บเชือก

การผูกเงื่อนและผูกแน่น

  การพันหัวเชือกวิธีต่างๆ
         เหตุที่ต้องพันหัวเชือก เนื่องจากเราตัดเชือกออกจากขดหรือลูก เมื่อทิ้งไว้เฉยๆ เกลียวเชือกจะลุ่ย หลุดออก เวลาใช้งานต้องตัดส่วนนี้ทิ้ง ทำให้เชือกสั้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องมีการพันหัวเชือกให้เรียบร้อย ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
        1. การพันหัวเชือกแบบธรรมดา (Common Whippimg)
        2. การพันเชือกหัวเชือกแบบตะวันตก (West Country Whipping)
        3. การพันหัวเชือกแบบสมบูรณ์ (Perfected Whipping)
        4. กาพันหัวเชือกแบบกะลาสี (Sailmaker’ whipping)
        เพื่อป้องกันมิให้ปลายเชือกคลายตัวดังกล่าวควรพันหัวเชือกให้เหมาะสมกับขนาดของเชือก คือ
        1) เชือกผูกแน่น ให้ใช้เทียนลนปลายเชือกทั้งสองข่างใช้นิ้วมือจุ่มน้ำบีบหัวปลายแหลมๆ ขณะที่ยังร้อนอยู่ อย่าให้ปลายเชือกบานเหมือนดอกเห็ด จะทำให้ปลายเชือกแตกในขณะที่แก้ออกเมื่อเลิกใช้งานแล้วมัดรวมกัน มัดละ 20 เส้น แขวนไว้ให้เชือกเหยียดตรง เพื่อสะดวกใน การใช้และนับจำนวน
        2) เชือกขนาด 5,6,8 มิลลิเมตร ให้พันหัวเชือกแบบธรรมดา (Common Whippimg) หรือแบบสมบูรณ์ (Perfected Whipping)
        3) เชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10 มิลลิเมตร ขึ้นไป ให้พันหัวเชือกแบบกะลาสี (Sailmaker’ whipping) เพื่อสะดวกในการใช้ ถ้างานเร่งด่วนก็ให้ใช้การพันหัวเชือกแบบตะวันตก(West Country Whipping) แต่จะเอาเชือกร้อยรอกอย่าเล็กน้อย ปลายเชือกทีพันแล้วควรจุ่มสีน้ำมันหรือสีพลาสติกจะทำให้ปลายเชือกคงทน และไม่ปะปนกับเชือกของผู้อื่น
หมายเหตุ ด้ายที่ใช้พันหัวเชือก ถ้าเป็นเชือกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5,6,8 มิลลิเมตร ให้ใช้ด้าย 80 % เบอร์ 18 พันหัวเชือก แต่ถ้าเป็นเชือกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10 มิลลิเมตร ขึ้นไป ให้ใช้ด้าย 80 % เบอร์ 36 หรือ 45 พันแบบกะสาลี จะเหมาะสมกว่า


  การเก็บรักษาเชือก
      
1. ระวังรักษาเชือกให้แห้งเสมอ อย่าให้เปือกชื้น เพราะจะทำให้เชือกเกิดราและผุต้อง
        2. หมั่นทำความสะอาด นำออกผึ่งแดดให้แห้ง
        3. การเก็บเชือกควรเก็บขดเป็นวง มัดให้เรียบร้อย แล้วนำแขวนไว้ ไม่ควรวางไว้กับพื้นเชือกที่ใช้งานเสร็จแล้ว จะต้องระวังรักษาดังนี้
            3.1 เชือกที่เลอะโคลนเลน หรือถูกน้ำเค็ม เมื่อเสร็จงานแล้วควรชำระล้างด้วยน้ำจืด ให้สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง เก็บมัดแขวนไว้กับขอ หรือบนที่แขวน
            3.2 ขณะใช้งานระวังอย่าให้เชือกลากครูด และเสียดสีกับของแข็ง จะทำให้เกลียว สึกกร่อนและขาดง่าย
            3.3 ก่อนเอาเชือกผูกมัดกับต้นไม้ กิ่งไม้ หรือของแข็ง ควรเอากระสอบพันรอบต้นไม้หรือกิ่งไม้
            3.4 ปลายเชือกจะต้องเอาเชือกเล็กๆ พันหัวเชือกหรือถักแทงให้เรียบร้อยป้องกัน คลายเกลียว
            3.5 อย่าใช้เชือกผูกรั้งเหนี่ยวยืดหรือราก ฉุดของหนักเกิดกำกำลัง (เชือกแต่ละเส้น มีแรงยกมากกว่าแรงฉุดหรือแรงลากเสมอ)
        ประโยชน์ของงานเชือก
      
1. ใช้ในงานบุกเบิกผจญภัย
        2. ใช้ช่วยชีวิตคน
        3. ใช้ผูกมัดสิ่งของต่างๆ
        4. ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผูกสายรองเท้า ถักเปีย ปืนต้นไม้ ห่อของขวัญ
        5. เชือกสั้นสามารถต่อให้ยาวได้
        6. เชือกยาวๆ ใช้ในงานที่ใช้เชือกสั้น ให้ทบเชือก โดยการผูกร่น หรือทบเชือกเอาส่วนที่เสียมาอยู่ตรงกลาง แล้วผูกร่นเชือกก็ใช้งานได้
        7. เป็นการรักษาภูมิปัญญา และใช้ประกอบเป็นอาชีพได้
        8. สามารถถักเป็นปลอก ถักเป็นเปีย ถักภาชนะ กระเป๋า ต่างๆ ได้



     คลิกการผูกเงื่อนต่างๆ

                                                                                                         

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติลูกเสือไทย

    การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง 
          จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง” 


          ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา
ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468
ประวัติศาสตร์ลูกเสือไทย
พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)
       - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) 
     - ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922)
     - คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก
พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) 
     - ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) 
     - จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)
พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) 
     - เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ
พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) 
     - เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย
พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) 
     - เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม



ประวัติลูกเสือโลก

โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ และรู้จักกันดีในวงการลูกเสือในนาม บี.พี. (B.P.) คือผู้ที่ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ (SCOUT) ขึ้นมาในโลกใบนี้ การกำเนิดของลูกเสือไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่บ่มเพาะอยู่ในตัวของท่าน บี.พี. มาอย่างยาวนาน

เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้เข้าร่วมกับกองทหารม้าของอังกฤษไปประจำอยู่ที่อินเดีย ความสามารถอันโดดเด่นด้านการใช้ชีวิตกลางแจ้งของท่าน แสดงให้เห็นจากการที่ท่านได้รับรางวัลการล่าหมูป่าบนหลังมาด้วยหอกเล่มเดียว (Pig Sticking) ซึ่งเป็นกีฬาที่อันตราย และได้รับความนิยมอย่างมาก
บี.พี. มีพี่น้อง 7 คน อยู่กับมารดา โดยกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กของท่านแสดงให้เห็นถึงนิสัยรักผจญภัย และชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านมักจะเดินทางไกลไปพักแรมร่วมกับพี่น้องของท่านตามที่ต่าง ๆ ในอังกฤษ ชอบท่องเที่ยวในป่ารอบโรงเรียน ซุ่มดูสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้รักษาประตูมือดี และเป็นนักแสดงละครที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน รวมทั้งรักดนตรี และวาดภาพอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 1887 บี.พี. ได้ไปประจำการอยู่ในแอฟริกา ซึ่งต้องรบกับชนเผ่าพื้นเมืองที่ป่าเถื่อนดุร้าย ไม่ว่าจะเป็น ซูลู อาซันติ หรือมาตาบีลี และด้วยความสามารถของท่านในการสอดแนม การสะกดรอย รวมทั้งความกล้าหาญของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่หวาดกลัวของบรรดาชนพื้นเมืองจนถึงกับตั้งฉายาท่านว่า "อิมปีซ่า" (Impeesa) หมายความว่า "หมาป่าผู้ไม่เคยหลับนอน" และด้วยความสามารถของท่าน ทำให้ท่านได้เลื่อนยศอย่างรวดเร็ว

ในปี ค.ศ. 1889 อังกฤษมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐทรานสวาล พันเอก เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้นำทหารม้าสองกองพันเดินทางไปป้องกันเมืองมาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งอยู่ใจกลางของแอฟริกาใต้ ที่นี่เองเป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในการรักษาเมืองไว้จากเงื้อมมือของข้าศึกที่ล้อมอยู่ด้วยกำลังมากกว่าอย่างมหาศาลไว้ได้ถึง 217 วัน จนกระทั่งกองทหารของอังกฤษได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ

หลังจากศึกคราวนี้ ท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้รับการนับถือจากชาวอังกฤษให้เป็นวีรบุรุษ
ในปี ค.ศ. 1901 บี.พี. เดินทางกลับไปยังอังกฤษ และด้วยชื่อเสียงของท่านในฐานะวีรบุรุษ ทำให้หนังสือที่ท่านเขียนขึ้นเพื่อให้ทหารอ่าน ชื่อ "Aids to Scoutting" หรือ "การสอดแนมเบื้องต้น" ได้รับความนิยมจนกระทั่งนำไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายมากมาย

          จุดนี้เอง ทำให้ บี.พี. เกิดประกายความคิดถึงโอกาสที่จะพัฒนาเด็กอังกฤษให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง เพราะถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติการสอดแนม สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ ถ้าท่านทำหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะก็คงจะได้ผลมากยิ่งขึ้น

บี.พี. จึงเริ่มศึกษาเรื่องราวของการฝึกอบรมเด็กจากทุกยุคทุกสมัย และนำประสพการณ์ในอินเดีย และแอฟริกา มาดัดแปลง และค่อย ๆ พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการลูกเสืออย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง จนกระทั่งฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1907 ท่านจึงได้รวบรวมเด็กยี่สิบคน ไปพักแรมกับท่านที่เกาะบราวซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกของโลก และประสพผลสำเร็จอย่างงดงาม


ต้นปี ค.ศ. 1908 บี.พี. ได้จัดพิมพ์คู่มือการฝึกอบรมขึ้น แบ่งออกเป็นหกตอนในชื่อ "Scoutting for Boys" หรือ "การสอดแนมสำหรับเด็ก" ซึ่งมีภาพประกอบที่เขียนโดยตัวท่านเองอยู่ด้วย เมื่อหนังสือเริ่มวางจำหน่าย แม่แต่ตัวท่านเองก็ไม่นึกไม่ฝันว่า มันจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดกองลูกเสือขึ้นมากมาย ไม่เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น แต่แพร่หลายไปในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย
เมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้น บี.พี. ได้มองเห็นโอกาสที่จะได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ด้วยการใช้การลูกเสือบ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองดี แทนที่จะต้องมาฝึกผู้ใหญ่ให้เป็นทหาร ท่านจึงได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1910 ขณะที่มียศพันโท เพื่อเดินเข้าสู่ชีวิตที่ท่านเรียกว่า "ชีวิตที่สอง" (Second Life) ที่ให้บริการโลกใบนี้ด้วยกิจการลูกเสือ และได้รับผลรางวัลเป็นความรักและนับถือจากลูกเสือทั่วโลก
เมื่อ บี.พี. มีอายุครบ 80 ปี กำลังของท่านก็เริ่มทรุดลง ท่านได้กลับไปพักผ่อนในช่วงบั้นปลายชีวิตในแอฟริกาที่ท่านรัก และถึงแก่กรรมในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1941 เมื่อมีอายุ 84 ปี

ปี ค.ศ. 1912 บี.พี. เดินทางรอบโลกไปพบปะกับลูกเสือในประเทศต่าง ๆ และเริ่มต้นเสริมสร้างการเป็นพี่น้องกันของลูกเสือทั่วโลก น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้งานนี้ต้องหยุดชงักลงชั่วขณะ แต่ก็เริ่มสานต่อหลังจากสงครามสิ้นสุดลง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1920 ก็ได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือระหว่างประเทศขึ้นในกรุงลอนดอน

ซึ่งถือเป็นการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นครั้งแรก (1st World Jamboree) และในคืนวันสุดท้ายของการชุมนุม บรรดาลูกเสือที่เข้าร่วมชุมนุมก็ร่วมกันประกาศให้ บี.พี. ดำรงตำแหน่งประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World)
และเมื่อกิจการลูกเสือดำเนินมาครบ 21 ปี พระเจ้ายอร์ชที่ 5 ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็นขุนนาง มีชื่อยศว่า Lord Baden Powell of Gilwell